• September 10, 2024

เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก 35.52 บาท หลังเงินเฟ้อ CPI สหรัฐออกมาต่ำกว่าคาด

วันที่ 15 พ.ย. น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 35.52-35.54 บาทต่อดอลลารฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (09.05 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 36.05 บาทต่อดอลลาร์ เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วท่ามกลางแรงเทขายเงินดอลลาร์ อย่างหนัก หลังดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐ ออกมาต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของตลาดมาก โดยภายหลังการรายงานตัวเลขดังกล่าว ตลาดเทมุมมองไปที่โอกาสที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมในหลายๆ รอบการประชุมถัดไป นอกจากนี้เครื่องชี้เศรษฐกิจจีนเดือน ต.ค. ที่ออกมาดีกว่าที่คาด ก็หนุนค่าเงินหยวนและ sentiment ของสกุลเงินเอเชียในภาพรวมด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ Headline CPI +0.0% MoM, +3.2% YoY ในเดือน ต.ค. ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 0.1% MoM, +3.3% YoY ขณะที่ Core CPI +0.2% MoM, +4.0% YoY ในเดือน ต.ค. ต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ 0.3% MoM, +4.1% YoYคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ ประเมินเบื้องต้นไว้ที่ 35.40-35.70 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สัญญาณเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์สกุลเงินเอเชีย ข้อมูลจีดีพีไตรมาส 3/66 ของญี่ปุ่น (Prelim.) ตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ต.ค. ของจีน ท่าทีของเจ้าหน้าที่เฟด รวมถึงตัวเลขยอดค้าปลีกและดัชนีราคาผู้ผลิตเดือน ต.ค. ของสหรัฐ

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.53 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นมาก” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.06 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.40-35.65 บาทต่อดอลลาร์

โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง จนใกล้โซนแนวรับหลัก 35.50 บาทต่อดอลลาร์ (แกว่งตัวในช่วง 35.51-36.10 บาทต่อดอลลาร์) หลังรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐ ออกมาต่ำกว่าคาด ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดคลายกังวลแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด พร้อมกลับมาเชื่อว่า เฟดได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว และเฟดอาจลดดอกเบี้ยลงราว -1% ในปีหน้า ซึ่งมุมมองดังกล่าวของผู้เล่นในตลาดได้ส่งผลให้ ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ดิ่งลงหนัก หนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นแรง ใกล้โซนแนวต้านสำคัญ จนผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ โดยโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท

รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐ เดือนตุลาคม ที่ชะลอลงต่อเนื่องและออกมาต่ำกว่าคาด ได้หนุนให้ผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐ เดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ส่งผลให้บรรดาหุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth ต่างปรับตัวขึ้นแรง อาทิ Tesla +6.1%, Nvidia +2.1% ซึ่งทำให้ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq พุ่งขึ้น +2.37% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด +1.91% ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดยังคงจับตาประเด็นการเมืองสหรัฐ ว่าสภาคองเกรสจะสามารถผ่านร่างกฎหมายงบประมาณได้ทันภายในวันที่ 17 พฤศจิกายน นี้หรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ Government Shutdown

ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี stoxx600 ปรับตัวขึ้นกว่า +1.34% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของบรรดาหุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth อาทิ Adyen +5.1%, Hermes +2.8%เช่นเดียวกันกับฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐ หลังผู้เล่นในตลาดคลายกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นยุโรปก็ได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนในช่วงนี้ ที่ออกมาดีกว่าคาด

ในฝั่งตลาดบอนด์ มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่กลับมาเชื่อว่า เฟดได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว และเฟดอาจเริ่มลดดอกเบี้ยลงในการประชุมเดือนมิถุนายนปีหน้า จนไปจบที่ระดับ 4.25%-4.50% ณ สิ้นปีหน้า หลังรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐ นั้นออกมาต่ำกว่าคาด ได้ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ พลิกกลับมาปรับตัวลงหนัก สู่ระดับ 4.44% อนึ่ง ในระยะสั้น เราประเมินว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ อาจมีโอกาสผันผวนสูงขึ้นได้บ้าง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากนี้ ออกมาดีกว่าคาด หรือ บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างย้ำจุดยืนสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย ทว่า เราคงแนะนำให้ รอจังหวะการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ในการทยอยเข้าซื้อเหมือนเดิม

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงหนัก เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังอัตราเงินเฟ้อสหรัฐ ล่าสุด ออกมาต่ำกว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดลดความกังวลต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด “Higher for Longer” พร้อมลดสถานะการถือครองเงินดอลลาร์ โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ดิ่งลงหนักใกล้ระดับ 104 จุด (กรอบ 104-105.6 จุด)

ในส่วนของราคาทองคำ มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่คลายกังวลแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งส่งผลให้ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ต่างปรับตัวลดลงหนัก ได้ช่วยหนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.) พุ่งขึ้นแรง กลับสู่โซนแนวต้าน 1,960 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำก็ถูกจำกัดไว้ หลัง บรรยากาศในตลาดการเงินก็กลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงสงครามอิสราเอล-กลุ่มฮามาส ก็ลดลงไปมากแล้ว ทำให้ผู้เล่นในตลาดใช้จังหวะการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในการทยอยขายทำกำไร ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าว ก็มีส่วนช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

สำหรับวันนี้ ไฮไลต์สำคัญจะอยู่ที่ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน (ช่วง 09.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) โดยบรรดานักวิเคราะห์ต่างมองว่า เศรษฐกิจจีนแม้จะมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ในเดือนตุลาคม สะท้อนผ่านยอดค้าปลีกที่อาจโต +7.7%y/y ส่วนยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) และยอดการลงทุนสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets Investment) อาจขยายตัว +4.5% และ +3.1% ตามลำดับ โดยหากรายงานข้อมูลดังกล่าวออกมาดีกว่าคาด ก็อาจส่งผลให้เงินหยวนจีน รวมถึงสกุลเงินฝั่งเอเชีย สามารถทยอยแข็งค่าขึ้นได้

ถัดมาในช่วงบ่าย ราว 14.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI อังกฤษ ในเดือนตุลาคม โดยหากอัตราเงินเฟ้อชะลอลงต่อเนื่อง ก็อาจเป็นสัญญาณว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีแนวโน้มที่จะจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้วเช่นกัน หลังภาพรวมเศรษฐกิจก็มีการชะลอตัวลงมากขึ้น

อีกไฮไลท์สำคัญ ที่อาจส่งผลให้ตลาดการเงินผันผวนได้ จะอยู่ในช่วงราว 20.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานยอดค้าปลีกสหรัฐ ในเดือนตุลาคม ซึ่งหากออกมาแย่กว่าคาด โดยเฉพาะในส่วนของยอดค้าปลีกพื้นฐานและ Control Group ก็จะสะท้อนภาพการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐ มากขึ้น ทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งเชื่อว่า เฟดได้จบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว

นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามประเด็นการเมืองสหรัฐ ว่าสภาคองเกรสจะสามารถผ่านร่างกฎหมายงบประมาณเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะ Government Shutdown ได้หรือไม่ พร้อมกับรอลุ้น รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทค้าปลีก อาทิ Target, TJ Max ซึ่งจะช่วยสะท้อนภาพการใช้จ่ายในฝั่งสหรัฐ ได้

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เรามองว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในช่วงคืนที่ผ่านมา นั้น “เร็ว” “แรง” กว่าที่เราประเมินไว้มาก (เราคาดว่า เงินบาทอาจติดอยู่แถวโซนแนวรับ 35.85 บาทต่อดอลลาร์) ทำให้เรามองว่า โมเมนตัมการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทอาจชะลอลงได้บ้าง ซึ่งสอดคล้องกับสัญญาณเชิงเทคนิคัลใน Time Frame ระยะสั้น อย่างไรก็ดี ในช่วงระหว่างวัน เงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นต่อได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนออกมาดีกว่าคาด และหนุนให้ ทั้งเงินหยวน รวมถึงสกุลเงินฝั่งเอเชียแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติก็อาจกลับมาเป็นฝั่ง “ซื้อสุทธิ” ได้ โดยเฉพาะในฝั่งตลาดบอนด์ หลังบอนด์ยีลด์สหรัฐ ปรับตัวลงหนักในช่วงคืนที่ผ่านมา ขณะที่ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นอาจยังมีความผันผวนและมีทิศทางไม่ชัดเจน

ทั้งนี้ หากเงินบาทแข็งค่าหลุดโซนแนวรับหลัก 35.50 บาทต่อดอลลาร์ ได้ เราประเมินว่า โซนแนวรับถัดไป อาจอยู่ในช่วง 35.30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งต้องรอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจของจีน รวมถึง รายงานข้อมูลยอดค้าปลีกสหรัฐ ในคืนนี้ แต่หากเงินบาทกลับมาอ่อนค่าลง เราประเมินว่า เงินบาทก็อาจติดโซนแนวต้านแถว 35.80 บาทต่อดอลลาร์

ในช่วงนี้ ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้งคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง