• December 2, 2024
Uncategorized

เริ่มวันนี้! ‘แบงก์ชาติ’ห้ามธนาคารโฆษณา ชักจูงคนก่อหนี้ ตัวอย่างมีอะไรบ้าง

เริ่มแล้ววันนี้คำพูดจาก ทดลองสล็อต pg! วันที่ 1 มกราคม 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้ออกเกณฑ์ใหม่ เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) หลังจากหนี้ครัวเรือนไทยเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานานและเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามลำดับ ทำให้ ธปท. เห็นว่าการยกระดับการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่อให้มีความรับผิดชอบและเป็นธรรมยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้ลูกหนี้มีวินัยและมีทักษะการบริหารจัดการด้านการเงินเพิ่มขึ้น จึงเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน

“แบงก์ชาติ” จึงได้ออกหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) เพื่อยกระดับการปฏิบัติตามหนังสือเวียนเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการด้านการให้สินเชื่ออย่างเป็นธรรม ให้มีความครอบคลุมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเสริมสร้างบทบาทของผู้ให้บริการในการรับผิดชอบลูกค้าตลอดวงจรหนี้อย่างเหมาะสม

ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ก่อนหรือกำลังจะเป็นหนี้ ระหว่างเป็นหนี้ เมื่อลูกหนี้มีปัญหาชำระหนี้ จนถึงการดำเนินการตามกฎหมายและโอนขายหนี้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ ตลอดจนส่งเสริมการให้ข้อมูลเงื่อนไขและคำเตือนที่ลูกค้าควรรู้ เพื่อกระตุกพฤติกรรม (nudge) และสนับสนุนให้ลูกค้ามีวินัยทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถบริหารจัดการหนี้ให้เป็นประโยชน์กับตนเอง (responsible borrowing)คำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด

ตัวอย่างตามเกณฑ์ใหม่ การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)

การโฆษณาต้อง “ถูกต้องและชัดเจน” โฆษณาต้องมีการแจ้งข้อมูลที่สำคัญ เข้าใจง่าย ไม่บิดเบือน หรือทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ โดยขนาดของตัวอักษรต้องสามารถมองเห็นได้ชัดเจน และความเร็วในการอ่านออกเสียงต้องเท่ากับเนื้อหาอื่นที่เป็นเงื่อนไขสำคัญในโฆษณา

ตัวอย่างโฆษณาที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์

  • แสดงเงื่อนไขสำคัญแต่ไม่ชัดเจน เช่น ตัวอักษรเล็กจนอ่านออกได้ยาก พูดเร็วจนรับสารไม่ได้
  • ให้ข้อมูลอัตราดอกเบี้ย 0.5% ต่อปี นาน 50 วัน แต่ไม่แสดงเงื่อนไขสำคัญว่า สำหรับยอดการใช้จ่ายแรกเท่านั้น
  • ให้ข้อมูลอัตราดอกเบี้ย 0% แต่ไม่แจ้งว่าเฉพาะกรณีเมื่อลูกค้าชำระเต็มจำนวนภายในวันครบกำหนดชำระ
  • กำหนดว่าฟรีค่าธรรมเนียมรายปี แต่ไม่แจ้งว่าเฉพาะค่าธรรมเนียมปีแรกเท่านั้น

ตัวอย่างโฆษณาที่มีถ้อยคำไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์

  • สนับสนุนให้ก่อหนี้เกินควร เช่น “ของมันต้องมี อยากได้ต้องได้”, “ช้อปหนักแค่ไหนก็รวยเหมือนเดิม”, “รสนิยมสูงทักมา”, “มีหรือเปิดวงเงินไว้ พร้อมใช้ชอปปิงได้หลาย brand”
  • แสดงให้เห็นว่าอาจไม่ได้พิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ เช่น “ใคร ๆ ก็กู้ได้”, “ไม่ดูเครดิต ก็กู้ได้”, “ไม่เช็ก”, “ไม่เช็กบูโร”, “ไม่เช็กเครดิตบูโร”
  • แสดงให้เห็นว่าการกู้เป็นเรื่องที่ไม่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งเข้าข่ายเป็นการเร่งให้ก่อหนี้เกินควร เช่น “กู้เงินเรื่องง่าย ๆ”, “กู้ง่าย”, “อนุมัติง่าย”

ตัวอย่างโฆษณาที่มีภาพไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์

  • สนับสนุนให้ก่อหนี้เกินควร เช่น ภาพนอนบนกองเงิน เงินปลิวลอยเป็นจำนวนมาก ภาพจำนวนเงินที่ไม่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่โฆษณา ถุงสินค้า brand name จำนวนมาก เป็นต้น

ตัวอย่างการกำหนดรูปแบบผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่เหมาะสม

  • ผู้ให้บริการต้องหลีกเลี่ยงการออกแบบผลิตภัณฑ์สินเชื่อในลักษณะที่จ่ายชำระช่วงแรกเฉพาะดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียวเพื่อจูงใจลูกค้า โดยตัดชำระไม่ถึงเงินต้น หรือการจ่ายชำระงวดสุดท้ายเป็นเงินก้อนใหญ่ (balloon payment) ที่อาจทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้จริง
  • ยกเว้นกรณีที่ลักษณะการจ่ายชำระสอดคล้องกับกระแสเงินสดของลูกหนี้และได้ผ่านการประเมินความสามารถในการชำระหนี้แล้ว ซึ่งอาจเป็นกรณีเฉพาะสำหรับลักษณะของสินเชื่อบางประเภท หรือลูกหนี้บางกลุ่มที่ในอนาคตจะมีกระแสเงินสดมาชำระหนี้ เช่น สินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องเพื่อประกอบอาชีพ ที่ยังไม่มีกระแสเงินสดเข้าในระยะเริ่มต้น แต่ในอนาคตจะมีแหล่งเงินเพื่อมาชำระหนี้

ตัวอย่างที่แบงก์ชาติสนับสนุนให้ดำเนินการ

  • กรณีที่ลูกค้าใหม่ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ หรือคะแนนเครดิตดี หรือมีประวัติชำระหนี้ดีต่อเนื่องกับเจ้าหนี้รายอื่น ผู้ให้บริการควรเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าลูกค้ารายอื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า หรือมีประวัติชำระหนี้ล่าช้า
  • กรณีที่ลูกค้าเดิมเคยได้รับอนุมัติสินเชื่อซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูงหรืออยู่ที่เพดาน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงหรือมีข้อมูลจำกัดมาก โดยปัจจุบันลูกค้าจ่ายชำระหนี้ดีอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีการให้วงเงินเพิ่ม ผู้ให้บริการควรพิจารณาทบทวนปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของลูกค้า

อ่านรายละเอียดประกาศศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)