‘3กูรูใหญ่’แนะรัฐบาลใหม่เร่งแก้ปัญหา หนุนล้างทุนผูกขาด-ทำงบฐานศูนย์
- admin
- 0
วันที่ 29 พ.ค. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีต รมว.พาณิชย์ และอดีต รมว.พลังงาน เปิดเผยในการอภิปรายงานมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หัวข้อ ปัญหาเศรษฐกิจที่รอรัฐบาลใหม่ ว่า นโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลใหม่ต้องเร่งทำ คือช่วยให้ประชาชนทำมาหากินได้สะดวก แต่การให้รัฐบาลลดค่าครองชีพ อาจทำไม่ได้ เชื่อว่าตอนนี้ทำมาหากินทำได้ ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การให้นักท่องเที่ยวเข้าออกประเทศผ่านไอทีจะทำได้ง่ายขึ้น
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันแตกต่างจากในอดีตค่อนข้างมาก ในตอนนี้ไทยมีปัญหาเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยขาขึ้น ค่าเงินบาท รวมถึงค่าจ้างจะเพิ่มทันเงินเฟ้อหรือไม่ เพราะจะกระทบค่าครองชีพจากของแพง ซึ่งไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลก็ตามก็ต้องทำ แม้ดอกเบี้ยจะขึ้นและจะขึ้นต่อในวันที่ 31 พ.ค.นี้ อีก 0.25% เป็น 2% แต่ไม่โหดเท่าค่าครองชีพที่แพง
ส่วนในเวลานี้ภาคการท่องเที่ยวดี จะทำให้เศรษฐกิจไทย หรือจีดีพี เติบโต 3-4% แต่ประชาชนรู้สึกค่าครองชีพสูง ประชาชนก็เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไข ช่วยเหลือ และคุมราคา ซึ่งมองว่าประเทศไทยคุมราคาไม่ได้ และฐานะการคลังมีจำกัด การจะทำนโยบายต้องดูหนี้สาธารณะชนเพดานหรือไม่ โดยเฉพาะนโยบายการใช้เงิน แต่หากพูดในฐานะการเงินประเทศไทยดี มีเงินสำรองสูงเกิน 2 แสนล้านดอลลาร์ มีหนี้ระยะสั้นน้อย มีสภาพคล่องสูง ส่วนตลาดทุนไทยมีมาร์เก็ตแคป 18-19 ล้านล้านบาท พันธบัตร 16 ล้านล้านบาท แม้หนี้ประชาชนสูงมองว่าไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจพัง แต่ถ้าสถาบันการเงินพัง การคลังพัง สุดท้ายเศรษฐกิจจะพัง
ขณะที่โครงสร้างเศรษฐกิจจะปรับอย่างไร ต้องไปดูภาพของโลกปัญหาใหญ่คือความไม่เท่าเทียมเพิ่มขึ้น โลกร้อน ความเสี่ยงที่กำลังจะเจอต่อไป และมีโอกาสการค้าการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกกำลังมาแรง สิ่งที่ควรทำ คือ ส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจ ทั้งการผลิต และซัพพลายเชน สร้างความเข้มแข็งชุมชน หลายจังหวัดช่วยตัวเองได้ มีแผนพัฒนาดิน น้ำ พัฒนาด้านเทคโลยีในชุมชน พัฒนาการศึกษา และแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น ถ้าแก้ได้ช่วยได้ทุกกลุ่ม ทำทุกอย่างเปิดเผยเป็นธรรม
“นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผลคือคนจะทำบล็อกเชนเป็นหมดทั้งประเทศ เพราะอยากได้ 10,000 บาท และเรียกร้องต้องมีอินเทอร์เน็ต เป็นเศรษฐกิจดิจิทัลโดยบังคับ ถ้าแจกตังต้องใช้จ่ายสูงตัวคูณสูง ส่วนการจัดทำงบประมาณฐานศูนย์ ถือเป็นประโยชน์และเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้ประหยัดงบประมาณได้ นำไปใช้อย่างอื่นที่มีประโยชน์ แต่คงไม่ทันในปีงบประมาณ 67 เพราะการจัดตั้งรัฐบาลใช้เวลา อาจทำทันในปีงบประมาณถัดไป”
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์และที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลใหม่คือต้องแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค และแก้ไขระบบการศึกษาเป็นอย่างแรก นโยบายสำคัญคือปฏิรูปการศึกษา เพิ่มและปรับทักษะ รวมถึงลดการผูกขาดทางธุรกิจ และเข้าไปช่วยเอสเอ็มอี อยากให้เอสเอ็มอีไปสู่ยูนิคอร์นมากกว่า โดยเปิดโอกาส สร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่เป็นสตาร์ทอัพ
อย่างไรก็ตาม มองว่าปัญหาแรงงานเป็นอีกหนึ่งที่ต้องแก้ไข เพราะในอีกเกือบ 30 ปีข้างหน้า แรงงานไทยจะหายไป 11 ล้านคน และไทยยังต้องแข่งขันดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทยให้ได้ ซึ่งการลงทุนทางตรงต่างประเทศ หรือเอฟดีไอ เหลือ 8.9% จากในอดีต 30% ไม่สามารถสู้ประเทศ เช่น เวียดนาม ฟิลิปปนส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“นโยบายพรรคก้าวไกล เรื่องทลายทุนผูกขาด เป็นเรื่องที่ดี เพราะทุนผูกขาดคือการเอาเปรียบผู้บริโภค แต่ระยะยาวการทลายทุนผูกขาด ต้องทำให้ตัวเลขโปร่งใส และสร้างการแข่งขันระยะยาว ให้ไทยไปแข่งขันตลาดโลก ส่วนเรื่องการเก็บภาษีกลุ่มทุนนั้น ถ้าหากอยากได้เงินเร็วก็เก็บภาษี เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแวต ซึ่งปกติเพดานที่ 10% แต่ขอลดเหลือ 7% ในทุกปี แต่หากปรับขึ้น 1% เงินที่จะได้เพิ่มเข้ามาคือ 80,000 ล้านบาท ซึ่งจะกระทบกลุ่มทุนน้อยกว่าการเก็บภาษีกลุ่มทุนโดยตรงและอาจกระทบกับการตัดสินใจลงทุนได้”
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวว่า ค่าครองชีพสูงขึ้นลงไม่ได้ แต่จะไม่สูงไปกว่านี้อีก ด้านฐานะการคลัง ที่ผ่านมาต้องสู้กับโควิด รัฐบาลต้องกู้เงินมาอุดหนุนคนตกงาน ส่งเสริมภาคธุรกิจ จนทำให้หนี้สาธารณะปัจจุบัน 61% ต่อจีดีพี แต่ตอนนี้ได้เก็บภาษีเพียง 15% ต่อจีดีพีเท่านั้น จะมีปัญหาเสถียรภาพเศรษฐกิจหรือไม่ ขณะที่ฐานะการเงินของไทยดีมาก ถ้าเงินหมุนให้เร็วไทยจะดีขึ้นเอง พร้อมทั้งเห็นด้วยการปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปหนี้ของครู ซึ่งมองว่าแก้ไขหนี้ครูไม่ยาก เพียงขึ้นเงินเดือนให้ครู นำเงินเดือนที่เพิ่มไปหักใช้หนี้ครู ซึ่งได้เคยเสนอสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ.ไปแล้ว.